สื่อสร้างสรรค์

Technological Singularity : จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อ "สมองกล" ฉลาดกว่า "สมองคน"    AI จะทำงานอย่างรวดเร็วด้วยหน่วยประมวลผลอันทรงพลังและอัลกอริทึมอันชาญฉลาดสุดจินตนาการ แต่มันมีความหมายอย่างไรกับเรากันแน่ เป็นไปได้หรือไม่ที่มันจะประเทืองปัญญาจนมี “สำนึกรู้” ถึงตัวตนขึ้นมา แล้วหันมาเป็นปฏิปักษ์กับมนุษย์ หรือในทางกลับกัน เป็นไปได้หรือไม่ที่ AI จะฉลาดจนมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีและอยู่กับมนุษย์อย่างช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน? 

เมื่อ AI กำลังจะมาแย่งงานของมนุษย์ในอนาคต จะเกิดอะไรขึ้น แม้แต่งานสร้างสรรค์ที่มนุษย์คิดว่า AI คงทำไม่ได้ แต่ทำได้แล้ว และทำได้ดีกว่า สรุปว่า AI เป็นผู้ช่วยในการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือไม่ แต่ถ้า งานสร้างสร้างน้้นถูกผูกขาดโดย AI (Machine Monopolize Creativity) แล้วมนุษย์ควรประกอบอาชีพอะไร?

สุดท้ายเรามาสนับสนุนงานที่ทำด้วยคนจริง ๆ กันดีกว่าไหม (Human-made command a premium)

สำหรับท่านที่นิยมพึ่งพา AI (จนกำลังจะมาแทนที่มนุษย์เกือบ 100%) ลองถามตัวเองว่า

1. คุณจะใช้ AI ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร 

2. คุณจะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจาก AI ได้อย่างไร

3. คุณเป็นผู้ริเริ่ม (Pilot) หรือผช.ผู้ริเริ่ม (co-Pilot)  ...นั่นคือคุณจะทำเองหรือจะพึ่ง AI

อะไรคือทักษะที่คุณจะต้องพัฒนา
ฝึกฝนทักษะ AI Literacy?

อะไรที่คือ mindset ที่คุณจะต้องปรับ

อะไรที่คือสิ่งที่คุณต้องการทำโดยคุณทำหน้าที่เป็นผู้บุกเบิกหรือริเริ่ม และมี AI เป็นเพียงผู้ช่วยเท่านั้น

Midjourney, DALL·E 2  (ระบบ AI ที่สร้างภาพจริงจากศิลปที่มาจากคำอธิบายจากภาษาธรรมชาติ) มีกระบวนการทำงานอย่างไร

Training data (นำข้อความที่ฝังในรูปภาพออกมา (Alternative text))  --> deep learning (กระบวนการเรียนรู้ ถูก/ผิดของ AI) --> Latent Space (เสมือนเกณฑ์ที่ใช้ในการเรียนรู้หรือตีความ) ---> Generation (กระบวนการสร้างภาพขึ้นมาใหม่)  ---> Output

Gen AI เป็นอย่างไร เรียนรู้รอบด้าน จากคำแนะนำผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ 

เช่น เมื่อ AI จะเข้ามาแทนที่ศิลปินวาดภาพ ผู้ว่าจ้างจะสนใจที่ผลลัพธ์ของชิ้นงาน (ได้เร็วและคุณภาพดี?) การเรียนรู้การใช้งานหรือสั่งงาน AI เพื่อให้วาดภาพจึงเป็นทักษะในอนาคต (AI Literacy) ต่อไป จากการเขียนโปรแกรม High coding จะลดลงเป็น Low coding และปรับเป็น No coding กระทั่งในที่สุดจะเป็น AGI (Artificial General Intelligence) และในอนาคต เป็น ASI (Artificial Super Intelligence) เมื่อ AI มีจิตสำนึกเองได้ (ฉลาดกว่าหรือเหนือกว่าและแซงหน้ามนุษย์) จนถึงจุดที่เรียกว่า Singularity

สรุป 4 บทเรียนจาก Jensen Huang ผู้ชนะโลกใหม่ AI

1. Stay on your pulse: รักษาจังหวะของตนเอง และกลับไปที่รากฐานอยู่เสมอ

2. CEO Jobs: หน้าที่ของผู้นำ คือการทำให้พนักงานได้ใช้ศักยภาพที่ดีที่สุด

3. Low Expectation: ความคาดหวังที่ต่ำ อาจมีส่วนให้ประสบความสำเร็จ

4. Future of Education: Coding อาจไม่จำเป็นแล้ว? เพราะ ภาษามนุษย์จะเป็นภาษาการเขียนโปรแกรมที่ดีที่สุดในอนาคต


ผลิตภาพทางปัญญา (The Production of Intelligence) อาจเป็นอนาคตถัดไปของโลก ท่ามกลางพัฒนาของ AI

อธิปไตย AI (Sovereign Al) ... การใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการปกครองสูงสุด

ต่อไปอาจจะไม่ต้องแปลงภาษาเพื่อเขียนโค้ด (Codify the Language) และป้อนให้กับ Large Language Model

ต่อไปผู้คนจะเขียนโค้ดได้ง่ายขึ้นด้วยภาษาธรรมชาติ (ภาษามนุษย์)

พัฒนาการของ AI ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง

1. การเรียนรู้แบบ Multimodality  2. ศักยภาพการใช้ตรรกะ (Reasoning Capabilities)

แต่อีกไม่เกิน 5 ปี AI จะทำข้อสอบเก่งกว่ามนุษย์?


ให้รักษาจังหวะของตนเอง และกลับมาที่ฐานหลักของเรา (core ที่จะพาองค์กรไปยังอนาคตที่สดใสได้)


เรียนรู้ที่จะมี Resilient (+โอบรับความเจ็บปวด เรียนรู้การล้มลงและลุกขึ้น ฟื้นตัวจากความล้มเหลวให้เร็ว) อาจเป็นหนทางสู่การประสบความสำเร็จ


ที่มา: Jensen Huang จากเด็กล้างจาน สู่ซีอีโอ NVIDIA ผู้ชนะโลกใหม่ AI | The Secret Sauce EP.720 

ทักษะที่จำเป็นในอนาคตของเด็กรุ่นใหม่ ในยุค AI ครองเมือง 

Professor Po-Shen Loh ศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์และโค้ชของทีมคณิตศาสตร์โอลิมปิกแห่งสหรัฐอเมริกา จะมาแบ่งปันประสบการณ์ของเขาที่ได้ขลุกอยู่กับเจ้า chatGPT ที่ส่งผลกระทบต่อระบบการศึกษาของคนรุ่นใหม่ เพื่อที่จะหาวิธีการในการเตรียมพร้อมให้กับเด็กรุ่นใหม่เพื่อรับมือกับการมาของปัญญาประดิษฐ์

ทักษะเหล่านี้จำเป็นหรือไม่ "การระดมสมองเพื่อให้ได้ไอเดียใหม่ ๆ + การเรียนรู้ที่จะเป็นมนุษย์ให้ได้มากที่สุด + ทักษะทางคณิตศาสตร์ + การสื่อสารในที่สาธารณะ แต่พื้นฐานของทักษะทั้งหมดคือ "เป็นคนดี" " 

 สรุป ดี ต้องมาก่อน เก่ง เพื่อนำไปใช้ในทางที่ดีต่อตนเอง ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และโลกต่อไป

10-TLC006.mp4

อ้างอิงจาก
เดือนเพ็ญ กชกรจารุพงศ์ (2565). เทคนิคการจัดการเรียนการสอนผ่านประสบการณ์และการสะท้อนการเรียนรู้ในหัวข้อคุณภาพชีวิตด้านจิตใจ. รายงานการประชุมวิชาการ The Professional Teaching and Student Engagement in Higher Education, Thailand ประจำปี 2565, 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2565. ณ มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน กรุงเทพมหานคร. หน้า 105-116. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม (รางวับทความระดับดี)

ชั่งน้ำหนัก AI ความเฉลียวฉลาดจะให้ผลดีหรือผลร้ายต่อมนุษยชาติ? 

Elon Musk จะสร้าง AI ทางเลือกที่สามให้มนุษย์โลก ที่ชื่อว่า TruthGPT


เจฟฟรีย์ ฮินตัน (Geoffrey Hinton) เจ้าพ่อเอไอ ตัดสินใจลาออกจาก Google บริษัทที่เขาทำงานมานานนับทศวรรษ เพื่อประกาศให้โลกรู้ว่าปัญญาประดิษฐ์อาจกลายเป็นภัยคุกคามครั้งใหญ่ของมนุษยชาติ

#คิดใหม่_ทำใหม่_สร้างสรรค์สิ่งใหม่   #หุ่นยนต์เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

#เราสามารถประยุกต์จริยธรรมของมนุษย์กับหุ่นยนต์ได้หรือไม่? [1]

ถ้าเปลี่ยนเป็นหุ่นยนต์ช่วยเหลือ [3] (เปลี่ยนจากสนามแข่งขันที่เน้นความรุนแรง [2]  เป็นสนามที่สร้างสถานการณ์ให้มีการช่วยเหลือกัน) น่าจะเป็นเกมที่สร้างสรรค์มากขึ้นนะคะ

#สัมมานวัตกรรมสู่สังคมพอเพียงอย่างยั่งยืน

แต่คนส่วนใหญ่โดยปกติจะหาความสนุกมาจากการชมการแข่งขัน ต่อสู้ เพื่อให้ได้ชัยชนะ และอีกฝ่ายแพ้ ไม่แน่ใจว่ายิ่งส่งเสริมความรุนแรง และการเลียนแบบให้นำมาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้นในสังคมหรือไม่ค่ะ (การส่งเสริมความรุนแรง บ่อย ๆ จากการเล่นเกม หรือชมเกม ที่เน้นความรุนแรง สิ่งเหล่านี้ที่ซ้ำ ๆ จะค่อย ๆ สะสมเข้าไปในจิตใต้สำนึก เข้าสู่สมองส่วนอมิดาลา จะมีผลต่อการกระตุ้นความชอบความโหดร้าย ความรุนแรงมากขึ้น หากเราไม่รู้เท่าทันจะถูกหล่อหลอมความรุนแรงมากขึ้น ????

มาร่วมกันรณรงค์สิ่งดีงามกันดีกว่านะคะ

อ้างอิงจาก duenpen.K  

ศึกษาเพิ่มเติม:

[1]. Can we apply human ethics to robots? https://www.youtube.com/watch?v=dWshtBOgCvs

[2]. Battle Bots. https://www.youtube.com/watch?v=M5Lgpsl71EI

[3]. The three big ethical concerns with artificial intelligence. https://www.youtube.com/watch?v=1LyacmzB1Og